เคยไหม ? เผลอโดนน้ำยาล้างห้องน้ำกระเด็นใส่ตัว จนเกิดอาการแสบร้อน ผิวแดง คัน ระคายเคือง หลายคนอาจมองข้ามความอันตราย คิดว่าแค่ล้างน้ำก็หาย แต่รู้หรือไม่ว่า น้ำยาล้างห้องน้ำมีสารเคมีรุนแรง ที่อาจส่งผลร้ายต่อร่างกายของเราได้มากกว่าที่คิด ขอพามารู้จักอันตรายจากการโดนน้ำยาล้างห้องน้ำกัด และวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งานทุกคน พร้อมชี้เป้าน้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำสูตรอ่อนโยน มาตรฐานฉลากเขียว ที่ปลอดภัยต่อเด็กและคนในบ้าน
Table of Content:
- สารเคมีอันตรายในน้ำยาล้างห้องน้ำ
- การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อโดนน้ำยาล้างห้องน้ำกัด
- ผลิตภัณฑ์ฉลากเขียว ตัวเลือกปลอดภัยต่อผู้ใช้งานทุกคน
สารเคมีอันตรายในน้ำยาล้างห้องน้ำ
น้ำยาล้างห้องน้ำส่วนใหญ่มีสารเคมีรุนแรงอยู่หลายชนิด เช่น กรดไฮโดรคลอริก แอมโมเนีย คลอรีน ซึ่งสามารถกัดกร่อนผิวหนัง ดวงตา ระบบทางเดินหายใจ และระบบย่อยอาหาร ดังนั้นหากผู้ใช้งานได้สัมผัสสารเหล่านี้ในน้ำยาล้างห้องน้ำ ก็อาจเกิดความผิดปกติทางร่างกายได้
รู้ทัน ! อาการเมื่อโดนน้ำยาล้างห้องน้ำกัด
- ผิวหนัง : การสัมผัสกับน้ำยาล้างห้องน้ำโดยตรง อาจทำให้ผิวแสบร้อน ระคายเคือง ผิวแดง คัน ลอก ผิวไหม้ ตุ่มน้ำ หรือเกิดแผลพุพอง
- ดวงตา : สารเคมีในน้ำล้างห้องน้ำสามารถระเหยปนเปื้อนในอากาศและลอยเข้าสู่ดวงตา ส่งผลให้แสบตา ตาแดง น้ำตาไหล เยื่อบุตาอักเสบ กระจกตาเป็นแผล
- ระบบทางเดินหายใจ : การสูดดมกลิ่นของน้ำยาล้างห้องน้ำระหว่างการทำความสะอาด อาจทำให้ไอ จาม หายใจติดขัด หรือแน่นหน้าอก
- ระบบย่อยอาหาร : ฤทธิ์กัดกร่อนของสารเคมี จะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หมดสติ และเสียชีวิตได้
หากมีข้อสงสัยว่าเราอาจได้รับสารพิษ แนะนำให้หาผลิตภัณฑ์ที่น่าจะเป็นต้นเหตุของสารพิษ จากนั้นทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ก่อนนำตัวส่งโรงพยาบาลในทันที
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อโดนน้ำยาล้างห้องน้ำกัด
เมื่อเผลอโดนน้ำยาล้างห้องน้ำกัด สิ่งสำคัญคือต้องปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธี เพื่อลดการระคายเคืองและป้องกันอันตรายร้ายแรง
กรณีได้รับสารพิษทางการหายใจ
- เปิดประตูหน้าต่าง เพื่อให้อากาศถ่ายเท หรือนำผู้ป่วยไปยังที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์
- ถ้าเป็นไปได้ ให้ผู้ป่วยนั่งหรือนอนในท่านั่งสบาย
- คลายเสื้อผ้าที่รัดรอบคอ หน้าอก และเอว เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้น
- สังเกตอาการของผู้ป่วย เช่น หายใจลำบาก ผิวเปลี่ยนสี หมดสติ หรือมีอาการอื่น ๆ ที่ผิดปกติ
- ตรวจสอบการเต้นของหัวใจ และการหายใจ
- หากผู้ป่วยไม่หายใจหรือหัวใจหยุดเต้น ให้ทำการ CPR หรือรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล
กรณีสารเคมีสัมผัสกับผิวหนัง
- ถอดเสื้อผ้าที่โดนน้ำยาล้างห้องน้ำกัดในทันที
- ล้างบริเวณที่สัมผัสสารเคมีด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ อย่างน้อย 15 นาที เพื่อชะล้างสารเคมีออกให้มากที่สุด
- อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี เพราะความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาอาจทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น
- ห้ามขยี้หรือเกาบริเวณที่โดนน้ำยา เพราะจะยิ่งทำให้ระคายเคือง
- ประคบเย็นด้วยผ้าชุบน้ำเย็น หรือถุงน้ำแข็ง เพื่อลดอาการบวม
- ปิดแผล แล้วนำส่งโรงพยาบาล
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ที่โดนน้ำยาล้างห้องน้ำกัดหรือสูดดมเข้าไปเหล่านี้ จะช่วยลดความรุนแรงของอาการและป้องกันไม่ให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรง
ข้อควรระวังในการใช้ผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำ เพื่อความปลอดภัย
- ควรอ่านฉลากและวิธีใช้น้ำยาล้างห้องน้ำอย่างละเอียดก่อนใช้
- สวมอุปกรณ์ป้องกัน เช่น ถุงมือ แว่นตา ยางกันเปื้อน
- เก็บน้ำยาล้างห้องน้ำให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ผลิตภัณฑ์ฉลากเขียว ตัวเลือกปลอดภัยต่อผู้ใช้งานทุกคน
ผลิตภัณฑ์ฉลากเขียว คือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจากสถาบันสิ่งแวดล้อมในไทย ว่ามีปริมาณสารเคมีอันตรายต่ำ ผ่านมาตรฐานความปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีส่วนประกอบที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมหรือสารตกค้างหลังจากการใช้งาน จึงช่วยลดการสะสมของสารพิษในร่างกายทั้งในมนุษย์และสัตว์ ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงจากอันตรายในการใช้งานอีกด้วย
ขอแนะนำน้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำสูตรอ่อนโยน (ฉลากเขียว) จากทรัพย์ (SUPP) ตัวช่วยทำความสะอาดพื้นผิวห้องน้ำทางเลือกใหม่สำหรับผู้ที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อม ช่วยขจัดคราบสกปรกฝังลึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองทั้งต่อผิวหนัง ดวงตา และจมูก ช่วยให้คุณล้างห้องน้ำได้อย่างปลอดภัย
หากต้องการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นและผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ จาก SUPP สามารถสั่งซื้อได้ผ่านเว็บไซต์ของ SUPP Cleaning สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 034-562-913 หรือ 065-237-9788 LINE Official https://line.me/R/ti/p/%40zfd7236a และอีเมล info@supp-cleaning.com
ข้อมูลอ้างอิง:
- อันตรายจากน้ำยาล้างห้องน้ำ ของใช้คู่สุขภัณฑ์ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2567 จาก https://www.pobpad.com/อันตรายจากน้ำยาล้างห้อ
- วิธีปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับ “สารพิษ” เบื้องต้น. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2567 จาก https://www.sanook.com/health/25629/