5 สารตกค้างสุดอันตรายที่อาจเจอได้แม้จะเป็นน้ำยาล้างจานสูตรอ่อนโยน

สารพิษที่อาจอยู่ในน้ำยาล้างจาน

เมื่อพูดถึงน้ำยาล้างจานเมื่อไหร่ มั่นใจได้ว่า คำพูดอย่าง “ไร้กลิ่นติดจาน ไร้สารตกค้าง” ต้องเป็นอีกหนึ่งวลีที่ใครหลาย ๆ คนนึกถึง ซึ่งจากประโยคนี้ คนจำนวนไม่น้อยก็อาจเข้าใจว่า การไร้สารตกค้างของน้ำยาล้างจานที่พูดถึงนี้หมายถึงการล้างฟองและสิ่งสกปรกบนภาชนะต่าง ๆ ให้หมดไป แต่ในความเป็นจริงแล้ว การล้างฟองออกจนหมดเกลี้ยงก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่มี “สารเคมีตกค้าง” หลงเหลืออยู่ ซึ่งหากใครสงสัยว่าน้ำยาล้างจานสูตรอ่อนโยนที่ใช้อยู่ทุกวันนี้จะมีสารตกค้างบนจานได้อย่างไร วันนี้เราจะขอพาพ่อบ้านและแม่บ้านไปทำความรู้จักกับ 5 สารเคมีอันตรายในน้ำยาล้างจานที่อาจตกค้างอยู่ในภาชนะโดยไม่รู้ตัวกัน แล้วสารเคมีแต่ละตัวจะอันตรายแค่ไหน ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร ไปรู้กันเลย

1. คลอรีน

ไม่ว่าจะเป็นน้ำยาล้างจานสูตรอ่อนโยนหรือสูตรไหน ๆ ก็มีโอกาสที่จะมีสารเคมีอันตรายอย่าง “คลอรีน” เจือปนอยู่ได้ทั้งสิ้น โดยส่วนใหญ่แล้ว น้ำยาล้างจานบางยี่ห้ออาจมีส่วนผสมของคลอรีนและน้ำยาฟอกขาวเจือปนเพื่อกำจัดเชื้อโรคอย่างไวรัสและแบคทีเรียบนภาชนะ
แต่อย่างไรก็ดี หากสารพิษต่าง ๆ เหล่านี้ตกค้างอยู่บนพื้นผิวของภาชนะก็อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาในอนาคตได้ โดยคลอรีนและน้ำยาฟอกขาวมีส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดอาการปวดท้อง และหากทำปฏิกิริยากับสารอื่น ๆ จากอาหาร เครื่องดื่ม หรือสารต่าง ๆ ที่อยู่บนภาชนะที่ใช้ สารตกค้างอย่างคลอรีนและน้ำยาฟอกขาวก็อาจทำให้เกิดแก๊สพิษ หรืออาจกลายเป็นสารก่อมะเร็งได้

วิธีดูฉลากเบื้องต้น : เลือกน้ำยาล้างจานที่เขียนว่า Chlorine-Free หรือ Bleach-Free

2.น้ำหอม

เคยล้างจานแล้วรู้สึกว่าน้ำยาล้างจานหอมมาก ๆ ไหม? หากเคยล่ะก็ ไม่แน่ว่าน้ำยาล้างจานที่ใช้อยู่อาจมีส่วนผสมของน้ำหอมเจือปนอยู่ก็ได้ โดยน้ำหอมที่เป็นส่วนผสมในน้ำยาล้างจานนี้มีจุดประสงค์เพื่อทำให้ผู้บริโภครู้สึกเพลิดเพลินในขณะล้างจาน อีกทั้งยังสามารถสร้างความรู้สึกสะอาดได้ เช่น น้ำยาล้างจานกลิ่นมะนาวก็จะให้ความรู้สึกที่สะอาดกว่าน้ำยาล้างจานกลิ่นอื่น ๆ เป็นต้น
แต่ไม่ว่าจะหอมแค่ไหน หรือช่วยให้การล้างจานเพลิดเพลินเพียงใด น้ำหอมที่ใส่เข้ามาในน้ำยาล้างจานสูตรอ่อนโยนหรือสูตรอื่น ๆ ก็สามารถเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเราได้ทั้งสิ้น โดยการแต่งกลิ่นน้ำหอมสักกลิ่นนั้นจะใช้สารเคมีจำนวนมากในการผลิต ซึ่งถ้านำมาผสมลงในน้ำยาล้างจานแล้วก็อาจเกิดการตกค้างและเคลือบอยู่บนภาชนะต่าง ๆ หากรับประทานเข้าไปก็อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ ตลอดจนมีอาการระคายเคืองต่าง ๆ ในระบบภายในได้

วิธีดูฉลากเบื้องต้น : เลือกน้ำยาล้างจานที่ฉลากเขียนว่า Fragrance-Free

3. ไตรโคซาน

สำหรับพ่อบ้านแม่บ้านหลาย ๆ คนที่ต้องการให้ภาชนะสะอาดปราศจากเชื้อโรค อาจเคยได้ยินมาว่า “ไตรโคซาน” เป็นสารเคมีที่สามารถกำจัดเชื้อโรคได้อยู่หมัดทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส จนทำให้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์หรือน้ำยาล้างจานที่มีส่วนผสมของไตรโคซาน
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไตรโคซานถือเป็นอีกหนึ่งสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายสูงมาก โดยจากการวิจัยพบว่า ไตรโคซานสามารถทำปฏิกิริยากับคลอรีนในน้ำประปาและก่อให้เกิดแก๊สพิษอย่าง “คลอโรฟอร์ม” ได้ ซึ่งแก๊สชนิดนี้จะส่งผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจ อีกทั้งยังดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ หากสารตัวนี้สะสมในร่างกายเป็นระยะเวลานานก็อาจก่อให้เกิดเป็นโรคมะเร็งได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ไตรโคซานยังผลต่อต่อมไร้ท่อและต่อมไทรอยด์อีกด้วย

วิธีดูฉลากเบื้องต้น : พยายามมองหาน้ำยาล้างจานสูตรอ่อนโยนที่ฉลากเขียนว่า Triclosan-Free

รู้จักน้ำยาล้างจานฉลากเขียว

4. โซเดียม ลอริล ซัลเฟต

หากใครเป็นสายที่ชอบล้างจานแล้วอยากได้ฟองเยอะ ๆ ล่ะก็ ไม่แน่น้ำยาล้างจานที่ใช้อยู่อาจมีส่วนผสมของ “โซเดียม ลอริล ซัลเฟต” หรือ SLS อยู่ก็ได้ โดยสารตัวนี้จะอยู่ในกลุ่มสารลดแรงตึงผิว ซึ่งนอกจากจะช่วยทำให้รู้สึกสะอาดมาก ๆ แล้ว โซเดียม ลอริล ซัลเฟตยังทำให้เกิดฟองในขณะล้างภาชนะเป็นจำนวนมาก
หลายคนอาจเข้าใจว่า ยิ่งฟองน้ำยาล้างจานเยอะ ยิ่งแปลว่าล้างสะอาด แต่แท้จริงแล้ว ในบางกรณี ฟองน้ำยาล้างจานที่มากเกินไปอาจหมายถึงการมีสารอันตรายเจือปนเช่นกัน โดยสารอย่างโซเดียม ลอริล ซัลเฟตอาจตกค้างอยู่บนภาชนะและก่อให้เกิดการระคายเคืองผิว ผื่นคัน และอาจส่งผลเสียต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายได้

วิธีดูฉลากเบื้องต้น : เลือกน้ำยาล้างจานที่ฉลากเขียนว่า SLS-Free หรือ Sodium Lauryl Sulfate-Free

5. ฟอสเฟต

“ฟอสเฟต” ถือเป็นอีกหนึ่งสารเคมียอดฮิตในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ซึ่งต่อให้เป็นน้ำยาล้างจานสูตรอ่อนโยนก็อาจพบฟอสเฟตเจือปนอยู่ได้เช่นกัน โดยสารเคมีอย่างฟอสเฟตนี้ไม่เพียงแต่จะลดความกระด้างของน้ำเท่านั้น แต่ยังช่วยทำให้สิ่งสกปรกและคราบต่าง ๆ สลายไปได้ง่าย จึงทำให้การล้างจานแต่ละครั้งดูสะอาดมาก ๆ
อย่างไรก็ตาม ถึงฟอสเฟตจะเป็นอันตรายต่อร่างกายและสุขภาพน้อยมาก แต่หากตกค้างอยู่บนภาชนะที่ใช้รับประทานอาหารเป็นประจำ ฟอสเฟตก็อาจปนเปื้อนเข้าไปในร่างกายได้ ซึ่งหากสะสมในร่างกายมาก ๆ เข้าก็อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะและคลื่นไส้ อีกทั้งยังอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวได้ง่ายอีกด้วย

วิธีดูฉลากเบื้องต้น : หากมีประวัติแพ้ฟอสเฟต หรือใช้น้ำยาล้างจานแล้วระคายเคือง ลองมองหาน้ำยาล้างจานที่ฉลากเขียนว่า Phosphate-Free

ปลอดภัยกว่า! ด้วยน้ำยาล้างจานที่มีฉลากเขียว

แม้ว่าจะเป็นน้ำยาล้างจานสูตรอ่อนโยนแค่ไหน หากไม่พิจารณาฉลากให้ดีก่อนซื้อก็อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายและสุขภาพในระยะยาว ด้วยเหตุนี้ เพื่อป้องกันอันตรายจากสารตกค้างในน้ำยาล้างจาน การซื้อน้ำยาล้างจานที่มีฉลากเขียวก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกดี ๆ ที่ทำให้มั่นใจได้ว่าจะไม่มีส่วนผสมของสารเคมีอันตราย อีกทั้งยังปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

โดย “ฉลากเขียว” นั้นจัดเป็นฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 ที่มอบให้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และปลอดภัยกับการใช้งาน เช่นเดียวกับน้ำยาล้างจานฉลากเขียวจาก SUPP Cleaning ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยทำความสะอาดที่คราบสกปรกได้อย่างหมดจดแล้ว ผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างจานของเรายังไม่มีส่วนผสมของสารเคมีอันตรายที่อาจทำลายสุขภาพของคุณได้ หากสนใจทดลองใช้สินค้า หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ เบอร์ 034-562913 หรือ 080-1595923